Home / วิธีการดูแลเลี้ยงดูแมว / แมวเก่าไม่ยอมรับแมวใหม่ ทำยังไงให้แมวเก่ากับแมวใหม่เข้ากันได้

แมวเก่าไม่ยอมรับแมวใหม่ ทำยังไงให้แมวเก่ากับแมวใหม่เข้ากันได้

แมวเก่าไม่ยอมรับแมวใหม่ ทำยังไงให้แมวเก่ากับแมวใหม่เข้ากันได้
เมื่อรับแมวใหม่มาเลี้ยง แมวเก่าไม่ยอมรับแมวใหม่ วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีทำไงให้แมวเก่ากับแมวใหม่เข้ากันได้ พอรับน้องใหม่มาดันเข้ากันไม่ได้ซะงั้นจ้องจะตีกันลูกเดียว แล้วอย่างนี้จะทำยังไงดี? แค่ได้กลิ่นก็ขู่กันแล้ว มีวิธีไหนช่วยได้ไหม? ทาสแมวหลายคนอาจเคยประสบปัญหาแมวงอก (อาการจ้องตาน้องแมวแล้วมึนๆงงๆ สักพักรู้ตัวอีกทีที่บ้านก็มีแมวเพิ่มซะแล้ว)

แต่ปัญหามันอยู่ที่น้องแมวบางตัวออกอาการแสดงเป็นแมวเจ้าถิ่น ไม่ยอมรับน้องเหมียวตัวใหม่ หรือกลับกันอาจจะเป็นเจ้าตัวใหม่นี่แหละที่ขู่เจ้าบ้านขวัญกระเจิง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะต้องเจอในการรับแมวตัวใหม่มาอยู่แล้ว เนื่องจากตามธรรมชาติของแมวเป็นสัตว์ที่รักสันโดษและค่อนข้างที่จะหวงที่อยู่ ดังนั้นการที่จู่ๆมีแมวแปลกหน้าเข้ามาบุกถึงบ้านเค้า แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ทำใจยาก แต่มีวิธีจัดการ วันนี้เราได้รวมวิธีต่างๆมาให้เพื่อนๆลองนำไปใช้กันดูนะ

เตรียมบ้านให้แมวน้องใหม่

ควรเตรียมบ้านให้กับแมวตัวใหม่ อาจจะเป็นกรง หรือใช้ตะแกรงกั้นเป็นคอกขึ้นมา แต่ต้องใหญ่พอที่จะวาง ชามน้ำ+อาหาร, กระบะทราย และที่นอน  รวมถึงของเล่นต่างๆ ที่สำคัญที่อยู่ของน้องใหม่ต้องเป็นที่ๆเค้าจะไม่ต้องเผชิญหน้ากับเจ้าถิ่น ต้องอยู่ในห้องที่เค้าจะรู้สึกปลอดภัย ไม่ควรไปวางไว้ใกล้กับที่นอนโปรด, กระบะทราย, ที่วางชามอาหาร ของแมวตัวเก่า เพราะจะเป็นการรุกล้ำอาณาเขตของเจ้าบ้านมากเกินไป ควรเตรียมบ้านไว้ก่อนรับน้องมานะ

แลกเปลี่ยนกลิ่นแมวตัวเก่าและแมวใหม่

ใช้ผ้าลูบตัวแมวตัวเก่าและแมวใหม่ แล้วนำผ้าไปสลับให้ลองดมก่อน และเมื่อนำตัวใหม่เข้าบ้านมาให้สังเกตว่าพฤติกรรมที่เค้ามีต่อกันเป็นยังไง ขู่กันมากน้อยแค่ไหน อย่าให้เค้าเผชิญหน้ากันนานนะ เพราะจะเกิดการต่อสู้กัน ให้นำตัวใหม่ไปพักไว้ในห้องที่เตรียมไว้ ช่วงแรกอาจต้องกันตัวเก่าไว้ก่อน ด้วยการปิดประตูห้อง หรือทำยังไงก็ได้ให้เค้าเข้าใกล้ตัวใหม่ไม่ได้เลย

ส่วนตัวเจ้าของเองให้ใช้วิธีเอาผ้าลูบตัวเจ้าเหมียวทุกวัน นำผ้าไปลูบแมวตัวเก่าแล้วนำกลิ่นของแมวตัวเก่าไปลูบตัวใหม่ ลูบสลับๆกันระหว่างกลิ่นของน้องเหมียวทั้งสองตัว ( เน้นแถวๆแก้ม, คาง, หน้าผาก และรอบปากนะ เพราะมีต่อมกลิ่น) ระหว่างนี้อาจจะมีผ้าที่มีแต่กลิ่นของแมวตัวใหม่วางไว้ให้เจ้าบ้านสำรวจ จะทำให้เค้าสำรวจกลิ่นได้โดยไม่ต้องเผชิญหน้ากัน

สังเกตุพฤติกรรมของแมวเก่าและแมวใหม่

หลังจากที่เค้าคุ้นเคยกลิ่นของกันและกันแล้ว ลองปล่อยให้เค้าเจอกันดู ช่วงแรกอาจจะเปิดประตูห้องให้ตัวเก่าเข้าไปสำรวจกรงห่างๆถ้าเค้ายังขู่กันหนักๆก้ออย่าเพิ่งให้เค้าเจอกันนาน ค่อยๆเพิ่มเวลาไป เจอกันวันแรกอาจจะครึ่งชม. แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกวัน (ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมแมวแต่ละตัวด้วย) ถ้าตัวเก่าขู่ตัวใหม่ที่อยู่ในกรงให้เราลูบหัวตัวเก่าแล้วพูดกับเค้าด้วยเสียงที่อ่อนโยน

ให้แมวรู้สึกว่าผ่อนคลายไม่มีอะไรน่ากังวล ห้ามดุหรือตีนะ ถ้าทำไปเรื่อยๆหลายๆวันจนเค้าชิน และขู่น้อยลง เราก็ลองให้เค้าสำรวจกันเองผ่านกรงได้เลย เมื่อเค้าเริ่มเป็นมิตรต่อกันก้อลองปล่อยมาเจอกัน อาจจะห่างๆก่อน คอยสังเกตุเค้าถ้าแมวมีอาการเครียดให้จับแยก ค่อยๆเพิ่มเวลาขึ้นทุกครั้งที่เจอและอาจมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น เล่นของเล่นด้วยกัน

แมวเก่าไม่ยอมรับแมวใหม่ ทำยังไงให้แมวเก่ากับแมวใหม่เข้ากันได้

ของใครของมัน

เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่รักสันโดษและหวงอาณาเขตอย่างที่บอกไว้ข้างบนนะ ดังนั้นทุกอย่างที่เป็นของแมวตัวเก่า เช่นกระบะทราย ชามอาหาร ควรแยก ไม่งั้นเค้าจะรู้สึกว่าตัวใหม่มาเพื่อแย่งทุกอย่างไปจากเค้า ที่สำคัญอีกอย่างคือ ทาสแมวอย่างเราต้องให้ความสำคัญของผู้มาก่อนเสมอ (ถึงจะเห่อแมวใหม่มากก็เถอะ) ไม่ว่าจะเข้าบ้านมาต้องทักตัวเก่าก่อน อาหารต้องให้ก่อน หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เค้ารู้สึกว่าเค้ายังสำคัญอยู่นะ

ชมเชยและให้รางวัลเมื่อแมวไม่ขู่กัน

อันนี้เป็นการเสริมเพื่อให้เค้ารู้สึกว่าถ้าเค้ารักกัน เค้าก็จะได้รางวัลนะ เช่น เป็นขนมที่เค้าชอบ ช่วงแรกๆที่เค้าเพิ่งปรับตัวอาจจะให้บ่อยหน่อยก็ได้ เค้าจะได้รู้สึกว่าการเจอหน้าเพื่อนใหม่เป็นเรื่องดีนะ ได้กินของอร่อยๆด้วย

ทั้งนี้วิธีทำยังไงให้แมวยอมรับแมวตัวใหม่และเข้ากันได้ทั้งหมดที่แนะนำไป ขึ้นอยู่กับหลายๆอย่างด้วย เช่น สภาพแวดล้อม, เพศ+อายุของแมว และนิสัยแมวแต่ละตัว บางตัวเจอกันอาจจะรักกันเลยก็ได้ หรือบางตัวอาจจะใช้เวลาปรับตัวนานมาก (เป็นปีก็มี) เจ้าของก็มีส่วน ต้องคอยเอาใจใส่ (เท่าๆกัน อย่าลำเอียง) ช่วยให้แมวไม่เครียดเกินไปและหมั่นสังเกตุพฤติกรรมของแมวแต่ละตัว อดทนกับพวกเค้าให้เวลาเค้าสักหน่อย ไม่แน่ถ้าแมวเก่าและแมวใหม่เข้ากันได้อาจจะรักกันจนลืมทาสแมวอย่างเราเลยก็ได้

User Rating: 5 ( 6 votes)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *